วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 30 เมษายน 2558


วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย

         อาจารย์ให้ออกไปร้องเพลงหน้าชั้นเรียน โดยอาจารย์จะจับฉลากจามเลขที่ ที่จะออกมาร้องเพลงหน้าชั้นแล้วให้คนที่ออกมาจับฉลากขึ้นมาว่าจะได้ร้องเพลงอะไร 
โดยให้มีกฎกติกาว่า 1. ถ้าดูเนื้อเพลงหัก 1 คะเเนน 
                              2. ให้เพื่อนช่วยร้องหัก1คะเเนน 
                              3. ขอเปลี่ยนเพลงหัก 0.5 คะเเนน

        หนูจับได้เพลงเที่ยวท้องนา  ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องยากมากค่ะ สำหรับหนูร้องยากมากคะ ทั้งทำนองและคำร้อง จังหวะคะ เนื้อเพลงหัดร้องมาแล้วนะคะแต่ไม่สามารถร้องได้ตามทำนองจริงๆ  แต่อาจารย์ใจดี ให้เพื่อนช่วยร้องให้ฟัง แต่อาจารย์ก็ให้ 5 คะแนนทุกคนเพราะ กล้าที่จะออกมาร้องหน้าห้อง
         
        วันนี้สนุกสนานมากคะ จากการเรียนวิชานี้ได้รับทั้งความรู้ ได้แสดงความกล้า ได้แสดงอะไรออกมาหลายๆอย่าง เวลาเรียนแล้วมีความสุขทำให้อยากมาเรียนทุกคาบเลยคะ ชอบอาจารย์ อาจารย์สอนเข้าใจง่าย  มีเทคนิคการสอนที่ดีมากค่ะ และการเรียนวิชานี้ ทำให้เข้าใจการเรียนการสอนในเด็กพิเศษ สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงค่ะ

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 21 เมษายน 2558

กิจกรรม ดิ่งพสุธา 

 เป็นกิจกรรมเกมทายใจเพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้าสู่บทเรียน



โปรมเเกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผน IEP  ( Individualized  Education  Program )

แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นโดยครูและผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสม
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- ระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้เเผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนเเผน
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องครูว่าเด็กมีปัญหาอะไร และรู้ว่าควรแก้ไขอะไรก่อน
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนในทักษะใด
IEP ประกอบด้วย
-  ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามรถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของเเผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียน

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นเเนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นเเนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าลูกของตนเป็นอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง 
  และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน 

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล 

1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์ 
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
- บันทึกจากผู้ปกครอง, ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 

2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น 
- กำหนดโปรแกรม และกิจกรรม 
- จะต้องได้รับการรับรอง แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 

3. การใช้แผน 
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น 
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
- ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็ก 

4. การประเมินผล 
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การเขียนเเผน IEP เราจะต้องให้ผู้ปกครองได้ดูข้อมูลรายละเอียดของเเผนที่สร้างขึ้น ว่าเหมาะสมกับเด็กหรือไม่ และต้องให้ผู้ปกครองเซ็นรับทราบก่อนถึงจะใช้เเผนIEPนี้ได้
  2. การเขียนแผน IEP  เราจะต้องทราบข้อมูลเด็ก และพฤติกรรมต่างๆของเด็กก่อนที่จะเขียนแผน  
  3. สามารถนำวิธีการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลไปเขียนได้อย่างถูกต้อง
  4. ทราบเเนวทางการเขียนเเผน IEP  ทั้ง2 แบบ คือแบบระยะสั้นและระยะยาว

    
การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน และการเขียนแผน ก็เป็นแผนที่ง่าย เขียนก็ไม่ได้ซับซ้อนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึก เพื่อนๆ ตั้งใจ และให้ร่วมมือในการช่วยคิดกิจกรรมกลุ่มของแต่ละกลุ่ม 
ประเมินอาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบอาจารย์ชี้เเจงรายละเอียดการเรียนชดเชยได้อย่างชัดเจน  มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายในเนื้อหาวิชา 


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 7 เมษายน 2558


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 ทักษะพื้นฐานทางการเรียน  
เป็นการเรียนรู้ทักษะต่างๆ เช่น ทักษะทางสังคม  ทักษะภาษา  ทักษะการช่วยเหลือตนเอง และทักษะพื้นฐานทางการเรียน จะเป็นทักษะเตรียมความพร้อมในการเขียนเเผน IEP ให้กับเด็ก

    เป้าหมายในการส่งเสริมเด็ก
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า ตนเองทำได้
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นของเด็กให้มีมากขึ้น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง

     ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่น เหมือนกับการเตรียมความพร้อม
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
         - เด็กพิเศษจะมีช่วงความสนใจ 2-3 นาที -

     การเลียนเเบบของเด็ก
เด็กชอบเลียนเเบบจาก พี่ น้อง เพื่อน ครู

     การทำตามคำสั่ง คำเเนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ึครูพูดชัดหรือไม่

- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

     การรับรู้  การเคลื่อนไหว
การได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส   กลิ่น

     ความจำของเด็ก
- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- เเกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของหายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

      การวางเเผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็กในการเรียนรู้
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆเพื่อความสนใจของเด็ก
- ให้งานเด็กเเต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง หรืออาจจะติดเป็นสัญลักษณ์
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด และไม่ชอบอะไร
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงานให้กับเด็ก
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและเล่นได้นาน
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลี่อนไหวร่างกาย


ฝึกร้องเพลงเด็ก 5  เพลง




เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว

เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10

เพลง เเม่ไก่ออกไข่
เเม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง

เพลง ลูกเเมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา  เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
* หมาก็เห่า  บ็อก  บ็อก
เเมวก็ร้อง  เมี๊ยว  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา  วัวร้อง มอ  มอ
(ซ้ำ * )

                                                          
                                                                  การนำไปประยุกต์ใช้
  1. รู้ว่าต้องใช้เทคนิคว่าอะไรในการจัดกิจกรรมให้เด็ก
  2. ได้เรียนรู้ว่าควรเลือกวิธีไหนในการจัดกิจกรรมที่พัฒนาให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะอยากเรียนรู้
  3. จัดกิจกรรมที่เป็นทักษะทางวิชาการที่ทำให้เด็กเรียนเเล้ว เกิดความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้น
  4. เทคนิคการจัดหาเกมหรือกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมเด็ก
  5. ส่งเสริมการร้องเพลงให้ถูกต้อง
การประเมิน
ประเมินตนเอง :   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน  และฝึกร้องเพลง 5 เพลง เสียงการร้องยังไม่เพราะค่ะ                             แต่ก็พยายามฝึก
ประเมินเพื่อน :     เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน และตั้งใจร้องเพลงกันอย่างดี
ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์สอนเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย ร้องเพลงเพราะมากค่ะ

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 31 มีนาคม 2558



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  

อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันทำอุปกรณ์ที่ใช้ในวันกีฬาสี เพื่อใช้ทำกิจกรรมในวันกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์  






วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2558


วันนี้มีสอบย่อยกลางภาคค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2558

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 

  • การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • เด็กอยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่ 

 ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ 
  • การได้ทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง 
  • เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ในสิ่งที่มีความรู้สึกดี 

 หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) เพราะบางที เมื่อเด็กทำไม่ได้ ครูอาจจะสงสารเด็ก
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆ ให้เด็กมากจนเกินไป
  • ต้องให้เวลาเด็กในการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 
  • อย่าพูดคำว่า "หนูทำช่้า"   "หนูทำไม่ได้"  ซึ่งเป็นการปิดโอกาสของเด็กในการทำสิ่งต่างๆชองเด็ก


 จะช่วยเด็กเมื่อไหร่ 
  • ในบางวันเด็กอาจไม่อยากทำอะไร
  • เด็กอาจมาขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มาแล้ว 
  • เด็กรู้สึกว่า ยังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับการช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม 

 ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง 
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ (การย่อยงาน)
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน

  การวางแผนทีละขั้น 
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด 

 ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • เเบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน

ตัวอย่าง                 การย่อยงาน      "การรูดซิบเสื้อ"

ขั้นที่หนึ่ง       นำชายเสื้อมาชิดกันทั้งสองข้าง

ขั้นที่สอง       นำอีกข้างมาสอดลงตรงล็อก
ขั้นที่สาม      มือข้างซ้ายจับปลายเสื้อให้ตรง มือขวาจับซิบไว้
ขั้นที่สี่          รูดซิบขึ้น
ขั้นที่ห้า       พับซิบลงให้เรียบร้อย

ตัวอย่าง                 การย่อยงานของเด็ก   " การเข้าส้วม"

1. เข้าไปในห้องส้วม
2. ดึงกางเกงลงมา
3. ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4. ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5. ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
6. ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า
7. กดชักโครกหรือตักน้ำราด
8. ดึงกางเกงขึ้น
9. ล้างมือ
10.เช็ดมือ
11.เดินออกจากห้องส้วม

กิจกรรม วงกลมสีบ่งบอกตนเอง



กิจกรรมต้นไม้สามัคคี



กิจกรรม ร้องเพลง

การนำไปประยุกต์ใช้

การได้เรียนรู้วิธีการย่อยงานให้เด็กเป็นลำดับขั้น ยิ่งย่อยละเอียดยิ่งดีต่อเด็ก
สามารถลำดับขั้นในการย่อยงานให้กับเด็กได้ เช่น การระบายสี
เรียนรู้สิ่งที่ห้ามพูดหรือกระทำต่อเด็ก เช่น "หนูทำไม่ได้"
เปิดโอกาสให้เด็กได้รู้สึกว่าตนเองมีอิสระในการเรียนรู้ และช่วยเหหลือตนเองได้ 
ครูไม่ต้องช่วยเหลือเด็กทุกๆอย่าง ช่วยเหลือเฉพาะเมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น

ประเมิน

ตนเอง     เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และจดบันทึกเพิ่มเติมในเรื่องของการยกตัวอย่าง แต่ละหัวข้อ   และทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ร่วมทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ เหมือนทุกครั้ง รู้ เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน แต่ใช้เวลาทำความเข้าใจนานนิดหน่อยค่ะ  ชอบกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำ เพราะสนุกสนาน ได้ข้อคิดค่ะ
เพื่อน       เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละฟังความรู้เพิ่มเติมที่อาจารย์ได้พูดได้เล่าให้ฟัง และให้ความร่วมมือทำกิจกรรมในห้องเรียน เช่นการร้องเพลง 
อาจารย์   อาจารย์สอนสนุกสนาน มีเทคนิคการสอนที่เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างแบบละเอียด ชัดเจน การทำท่าทางประกอบ การอธิบายอย่างละเอียดให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น 



  




วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 10 มีนาคม 2558


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม ส่วนมากจะมีคำศัพท์เฉพาะตัวของเด็ก ในบางคำำอาจจะเป็นคำที่ฟังไม่ค่อยเข้าใจ

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น เช่น หนังสือ จะออกเสียงว่า  สือ เพียงคำเดียวจากคำว่า หนังสือ
  • การใช้เสียงหนึ่งเเทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง  ส่วนมากเด็กจะพูดติดอ่าง เเต่เป็นเรื่องปกติ พอเริ่มโตขึ้นก็จะหายไปเอง 


 การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด 
  • ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ ตามสบาย  คิดก่อนพูด เพราะเด็กอาจจะทำจนติดตัว
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน


 ทักษะพื้นฐาน
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การเเสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด


ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการเเสดงออกทางภาษา ครูต้องเข้าใจการพูดของเด็ก
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด 
  • ให้เวลาเด็กได้พูด ไม่เร่งรัดเวลา
  • คอยให้เด็กตอบ 
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว  แต่ครูไม่พูดมากเกินไป 
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน เลียนแบบเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง 
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด แบบให้เด็กได้คิดหลายๆทาง
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก เวลาที่ทำกิจกรรม


 การสอนตามเหตุการณ์ 

     เป็นกิจกรรมที่สามารถใช้กับเด็กพิเศษ และครูสามารถจะเดินเข้าไปถาม หรือคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กทำเองไม่ได้จริงๆ แต่ไม่ควรหันหลังให้กับเด็กกลุ่มอื่น เช่น
                 เข้าไปถาม  " ทำอะไรค่ะ "
                 เข้าไปถาม   " หนูจะใส่ผ้ากันเปื้อนใช่ไหม "
                 เข้าไปถาม   " ครูใส่ผ้ากันเปื้อนให้หนูนะ "
                 ลองพูดตามครูสิ  " ผ้ากันเปื้อน "  สวมผ้ากันเปื้อนให้เด็ก

 กิจกรรมหลังเรียน 

         ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
  •  การเล่านิทาน
  •  การใช้คำศัพท์
  •  การร้องเพลง หรือกลอน
  •  การใช้คำถามปลายเปิด
  •  การให้เด็กบอกความต้องการของเด็ก 
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดตอบ
  • ไม่แทรกแซงการพูดของเด็ก
กิจกรรมดนตรีบำบัด


ก่อนทำ


หลังทำ
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาให้เหมาะสมกับเด็กในห้องเรียน เรียนรวม
  • ได้เรียนรู้ว่าขณะเด็กพูด ห้ามพูดขัดจังหวะเด็ก 
  • ห้ามไปบอกให้เด็กให้พูดช้าๆ หรือทำอะไรให้คิดก่อนพูด เพราะสิ่งเหล่านี้ครูไม่ควรทำหรือพูดกับเด็ก
  • ครูจะต้องไม่ควรเปรียบเทียบการพูดหรือการกระทำของเด็กกับเด็กปกติคนอื่น
  • ครูจะต้องเข้าใจภาษาของเด็ก เพราะเด็กจะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเด็ก
  • รู้จักเเนวทางว่าครูควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดหรือเเสองออกทางภาษามากขึ้น
  • ได้รู้ว่าครูอาจใช้คำพูดกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง แต่ไม่ควรพูดมากเกินไป
  • ในห้องเรียนครูไม่ควรหันหลังให้เด็ก


การประเมิน

ประเมินตนเอง   มีเพื่อนอีกกลุ่มมาเรียนรวมด้วยอาจทำให้ห้องเรียนอึดอัดเกินไป  ทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน เพราะเสียงดัง จึงไม่ได้ยินสิ่งที่อาจารย์พูดทำให้ไม่เข้าใจในเรื่องของเนื้อหา  และร่วมมือกันทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน    เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  เเต่อาจจะดูวุ่นวาย เนื่องจากมีสมาชิกเพื่อนอีกกลุ่มมาเรียนรวมด้วยทำให้เยอะขึ้น และมีการพูดคุยกันเสียงดัง  
ประเมินอาจารย์  อาจารย์สอนเนื้อหาแบบง่าย เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจ และสนุกสนาน





วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 7


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 3 มีนาคม 2558


กิจกรรมก่อนเรียน


เนื้อหา

                  การส่งเสริมทักษะทางสังคมให้กับเด็กพิเศษ
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
- ปรับพฤติกรรมทางสังคมต้องปรับที่ตัวเด็กเอง
- เด็กจะอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร ไม่ได้เป็นเครื่องมือบ่งบอกว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

              กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสัมคม
- เด็กจะเล่นด้วยกัน
- การเล่นของเด็กพิเศษจะเลียนแบบเด็กปกติ
- ครูควรทำให้เด็กมีจุดเด่นใหากเด็กคนอื่นไม่ให้เด็กพิเศษไปเล่นด้วย

             ยุทธศาสตร์การสอน
- ครูเริ่มต้นด้วยการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- ครูต้องจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษอย่างละเอียด
- ทำแผน IEP 
- ครูต้องเข้าใจเด็กแต่ละคนอย่างแท้จริง เช่น จุดเด่น จุดด้อย

              การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- ครูต้องวางแผนกิจกรรมการเล่นใว้เป็นอย่างดี และมีกิจกรรมที่หลากหลาย
- คำนึงถึงเด็กทุกคน
- ให้เด็กเล่นกันเป็นกลุ่ม
- ให้เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนตนเองเป็นครูของเด็กพิเศษ

                ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- การให้แรงเสริมครูก็ไม่ควรที่จะชมออกหน้าออกตา 
- ครูควรพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน ทำโดยการพูดชักนำของครู
- เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กเป็นเครื่องต่อรอง
- การทำกิจกรรมต้องสร้างข้อตกลงทุกครั้ง
- เอาวัสดุมาเพิ่มเพื่อยืดเวลาการเล่น

                 ครูส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนได้อย่างไร
- ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม
- อย่าหันหลังให้เด็ก
- ให้เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
- ไม่มีอคติต่อเด็ก
- ให้โอกาสเด็ก

                  การให้แรงเสริมในบริบทที่เด็กเล่น
- พูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเื่อน
- ทำโดยการพูดนำจากครู เช่น น้องดาวน์ วาดรถไฟมาส่งครู ครูควรจะูดนำเด็กว่า "รูปอะไร"  " รถไฟใช่รึเปล่า"

การนำไปประยุกต์ใช้
- นำเรื่องของการให้แรงเสริมทางบวกกับเด็กมาปรับใช้อย่างถูกวิธี
- ส่งเสริมทักษะทางสังคมให้เด็กอย่างถูกต้อง
- ปฏิบัติตัวในการสอนเด็กให้มีทักษะทางสังคมอย่างถูกต้อง
- ร้องเพลงให้ตรงจังหวะ 

ประเมิน
ตนเอง          เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมใน กิจกรรมรถไฟเหาะ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและอธิบาย และ ทำกิจกรรมฝึกสมาธิร่วมกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน
เพื่อน            เข้าเรียนตรงเวลา ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ร่วมกันทำกิจกรรมใก้กิจกรรมในชั้นเรียนมีความสุข
อาจารย์       สอนเข้าใจในเรื่องของเนื้อหา มีกิจกรรมสนุกสนานให้ได้ผ่อนคลายค่ะ