บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 10 มีนาคม 2558
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะภาษาการวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม ส่วนมากจะมีคำศัพท์เฉพาะตัวของเด็ก ในบางคำำอาจจะเป็นคำที่ฟังไม่ค่อยเข้าใจ
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น เช่น หนังสือ จะออกเสียงว่า สือ เพียงคำเดียวจากคำว่า หนังสือ
- การใช้เสียงหนึ่งเเทนอีกเสียง
- ติดอ่าง ส่วนมากเด็กจะพูดติดอ่าง เเต่เป็นเรื่องปกติ พอเริ่มโตขึ้นก็จะหายไปเอง
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ ตามสบาย คิดก่อนพูด เพราะเด็กอาจจะทำจนติดตัว
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การเเสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการเเสดงออกทางภาษา ครูต้องเข้าใจการพูดของเด็ก
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด ไม่เร่งรัดเวลา
- คอยให้เด็กตอบ
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว แต่ครูไม่พูดมากเกินไป
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน เลียนแบบเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด แบบให้เด็กได้คิดหลายๆทาง
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก เวลาที่ทำกิจกรรม
เป็นกิจกรรมที่สามารถใช้กับเด็กพิเศษ
และครูสามารถจะเดินเข้าไปถาม หรือคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กทำเองไม่ได้จริงๆ แต่ไม่ควรหันหลังให้กับเด็กกลุ่มอื่น เช่น
เข้าไปถาม " ทำอะไรค่ะ "
เข้าไปถาม " หนูจะใส่ผ้ากันเปื้อนใช่ไหม "
เข้าไปถาม " ครูใส่ผ้ากันเปื้อนให้หนูนะ "
ลองพูดตามครูสิ " ผ้ากันเปื้อน " สวมผ้ากันเปื้อนให้เด็ก
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
- การเล่านิทาน
- การใช้คำศัพท์
- การร้องเพลง หรือกลอน
- การใช้คำถามปลายเปิด
- การให้เด็กบอกความต้องการของเด็ก
- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดตอบ
- ไม่แทรกแซงการพูดของเด็ก
กิจกรรมดนตรีบำบัด
ก่อนทำ
หลังทำ
การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาให้เหมาะสมกับเด็กในห้องเรียน เรียนรวม
- ได้เรียนรู้ว่าขณะเด็กพูด ห้ามพูดขัดจังหวะเด็ก
- ห้ามไปบอกให้เด็กให้พูดช้าๆ หรือทำอะไรให้คิดก่อนพูด เพราะสิ่งเหล่านี้ครูไม่ควรทำหรือพูดกับเด็ก
- ครูจะต้องไม่ควรเปรียบเทียบการพูดหรือการกระทำของเด็กกับเด็กปกติคนอื่น
- ครูจะต้องเข้าใจภาษาของเด็ก เพราะเด็กจะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเด็ก
- รู้จักเเนวทางว่าครูควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดหรือเเสองออกทางภาษามากขึ้น
- ได้รู้ว่าครูอาจใช้คำพูดกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง แต่ไม่ควรพูดมากเกินไป
- ในห้องเรียนครูไม่ควรหันหลังให้เด็ก
การประเมิน
ประเมินตนเอง มีเพื่อนอีกกลุ่มมาเรียนรวมด้วยอาจทำให้ห้องเรียนอึดอัดเกินไป ทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน เพราะเสียงดัง จึงไม่ได้ยินสิ่งที่อาจารย์พูดทำให้ไม่เข้าใจในเรื่องของเนื้อหา และร่วมมือกันทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
เเต่อาจจะดูวุ่นวาย เนื่องจากมีสมาชิกเพื่อนอีกกลุ่มมาเรียนรวมด้วยทำให้เยอะขึ้น
และมีการพูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนเนื้อหาแบบง่าย เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจ และสนุกสนาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น