วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 5



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558



กิจกรรมวาดมือของฉัน 


       
อาจารย์แจกถุงมือให้นักศึกษาคนละ 1 ข้าง โดยให้สวมถุงมือในข้างที่ ไม่ถนัด จากนั้นให้นักศึกษาวาดภาพหลังมือของตนเอง อย่างละเอียด ในเรื่องของเล็บ ลายเส้น กระดูก

เนื้อหา
การสอนเด็กพิเศษ และเด็กปกติ 
ทักษะและทัศนคติของครู   ครูต้องมองเด็กเป็นภาพรวม  มองว่าเด็กทุกคนเหมือนกัน มีวุฒิภาวะ ความสามารถในการเรียนรู้ที่เหมือนกัน อย่าเพ่งเล็งเด็กที่มีความบกพร่อง เพราะจะทำให้เด็กเกิดความสงสัย และไม่กล้าที่จะเรียนรู้อย่างเต็มที่

การฝึกเพิ่มเติม
การอบรมครูจากผู้เชื่ยวชาญ เกี่ยวกับเด็กพิเศษ เพื่อให้ครูเข้าในยิ่งขึ้น  และครูต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม  จากเว็ปไซต์   หนังสือ
                                         
การเข้าใจภาวะปกติ 
ในห้องเรียนเด็กทุกคน มีความคล้ายกัน ไม่แตกต่างกันมาก ครูต้องรู้จักเด็ก และมีปฎิสัมพันธ์กับเด็กทุกคน มองเด็กให้เป็น "เด็ก" ไม่มองแค่เด็กปกติ

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย 

ความพร้อมของเด็ก
1.วุฒิภาวะ           เด็กในห้องเรียนเดียวกัน มีวุฒิภาวะไม่ค่อยต่างกัน
2.แรงจูงใจ          ต้องมีวิธีในการโน้มน้าวให้เด็กเกิดแรงจูงใจ
3.โอกาส             เด็กแต่ละคนมีโอกาสแตกต่างกัน

การสอนโดยบังเอิญ
การที่เด็กเข้ามาถามครู  และครูก็สอน  เช่น ทำกิจกรรมอยู่ในช่วงที่ครูว่างเด็กก็จะเข้ามาถาม ครูก็ถือโอกาสสอน
ในการสอนโดยบังเอิญ  - ครูต้องที่จะพบเด็ก
                                      - ครูต้องมีความสนใจเด็ก
                                      - ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
                                      - ครูต้องมีอุปกรณ์ และกิจกรรมล่อใจเด็ก
                                      - ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
                                      - ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
                                      - ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

ตารางประจำวัน
เด็กชอบตารางเวลาที่คุ้นเคย การเรียงลำดับเวลาที่เด็กสามารถคาดเดาได้ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย และมั่นใจขึ้น มีการสลับกันในกิจกรรมเงียบๆ และกิจกรรม ที่เคลื่อนไหวมากๆ คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลา

ทัศนคติของครู 
ความยืดหยุ่น               แผนสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
                                      ยอมรับของเขตควาสามารถของเด็ก
                                      ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

- การใช้สหวิทยาการ      รับฟังข้อมูล หรือคำแนะนำจากบุคคลในแาชีพอื่นๆ
                                      ความสำพันธ์ระหว่างการบำบัด กับกิจกรรมในห้องเรียน

- การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ 
       เด็กบางคนสอนได้ เด็กไม่ได้ไร้ความสามารถ แต่อาจช้ากว่าเด็กปกติ ให้มองว่า เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
 การให้แรงเสริม 

ให้ความสนใจเด็ก   ยิ้ม      ให้คำชื่อนชน     ให้ความช่วยเหลือ     สัมผัส กอด       ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
          หลักการให้แรงเสริม  
ต้องให้แรงเสริมทันที
ไม่สนใจ เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ให้ความสนใจเด็กที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 

การแนะนำหรือบอกบท  (Prompting)
การย่อยงาน
การลำดับความยากง่ายของงาน
การลำดับงานจะเป็นแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรม
การบอกบทจะค่อยๆลดลงตามลำดับ เพราะเด็กสามารถทำได้มากขึ้น


ความต่อเนื่อง 
พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างมารวมกัน
สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง เช่น

การตักซุป
1. การจับช้อน
2. การตัก
3. การระวังไม่ให้น้ำซุปในช้อนหก ก่อนจะเข้าปาก
4. การเองช้อน และซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกราดคาง
5. การเองซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก

การลดหรือหยุดแรงเสริม 
ไม่สนใจหากเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
เอาอุปกรณ์ หรือของเล่นออกจากเด็ก
เอาเด็กออกจากของเล่น (Time Out)

คงเส้นคงวา

การจัดการเรียนการสอนที่ดี และเหมาะสมตั้งแต่ต้นปีการศึกษา จนจบปีการศึกษา

การนำไปประยุกต์ใช้


1. การปรับตนเองในอนาคต ในการมองเด็กในห้องเรียนให้เป็นภาพรวม ไม่เพ่งเล็งเด็กที่บกพร่อง
2.
 ศึกษาความรู้เพิ่มเติม จากแหล่งข้อมูลต่างๆเช่น อินเทอร์เน็ต  หนังสือ
3.
 จำชื่อ และชื่อเล่นของเด็กได้ทุกคน จะทำให้เด็กดีใจ
4.
 พร้อมที่จะสอนเมื่อเด็กถาม หรือเมื่อเด็กขอความช่วยเหลือ ไม่แสดงท่าทีเหมือนรำคานเด็ก
5.
 สามารถสอนพฤติกรรมให้ตรงกับเป้าหมายที่สำคัญ
6.
 รับฟังคำแนะนำจากบุคคลอาชีพต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลและเป็นประโยชน์ของเรา
7.
 สามารถให้แรงเสริมแก่เด็กอย่างถูกวิธี และสอนให้เด็กมีวามสุข



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น