วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 30 เมษายน 2558


วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย

         อาจารย์ให้ออกไปร้องเพลงหน้าชั้นเรียน โดยอาจารย์จะจับฉลากจามเลขที่ ที่จะออกมาร้องเพลงหน้าชั้นแล้วให้คนที่ออกมาจับฉลากขึ้นมาว่าจะได้ร้องเพลงอะไร 
โดยให้มีกฎกติกาว่า 1. ถ้าดูเนื้อเพลงหัก 1 คะเเนน 
                              2. ให้เพื่อนช่วยร้องหัก1คะเเนน 
                              3. ขอเปลี่ยนเพลงหัก 0.5 คะเเนน

        หนูจับได้เพลงเที่ยวท้องนา  ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องยากมากค่ะ สำหรับหนูร้องยากมากคะ ทั้งทำนองและคำร้อง จังหวะคะ เนื้อเพลงหัดร้องมาแล้วนะคะแต่ไม่สามารถร้องได้ตามทำนองจริงๆ  แต่อาจารย์ใจดี ให้เพื่อนช่วยร้องให้ฟัง แต่อาจารย์ก็ให้ 5 คะแนนทุกคนเพราะ กล้าที่จะออกมาร้องหน้าห้อง
         
        วันนี้สนุกสนานมากคะ จากการเรียนวิชานี้ได้รับทั้งความรู้ ได้แสดงความกล้า ได้แสดงอะไรออกมาหลายๆอย่าง เวลาเรียนแล้วมีความสุขทำให้อยากมาเรียนทุกคาบเลยคะ ชอบอาจารย์ อาจารย์สอนเข้าใจง่าย  มีเทคนิคการสอนที่ดีมากค่ะ และการเรียนวิชานี้ ทำให้เข้าใจการเรียนการสอนในเด็กพิเศษ สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงค่ะ

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 21 เมษายน 2558

กิจกรรม ดิ่งพสุธา 

 เป็นกิจกรรมเกมทายใจเพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้าสู่บทเรียน



โปรมเเกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผน IEP  ( Individualized  Education  Program )

แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นโดยครูและผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสม
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- ระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้เเผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนเเผน
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องครูว่าเด็กมีปัญหาอะไร และรู้ว่าควรแก้ไขอะไรก่อน
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนในทักษะใด
IEP ประกอบด้วย
-  ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามรถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของเเผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียน

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นเเนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นเเนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าลูกของตนเป็นอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง 
  และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน 

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล 

1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์ 
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
- บันทึกจากผู้ปกครอง, ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 

2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น 
- กำหนดโปรแกรม และกิจกรรม 
- จะต้องได้รับการรับรอง แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 

3. การใช้แผน 
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น 
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
- ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็ก 

4. การประเมินผล 
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การเขียนเเผน IEP เราจะต้องให้ผู้ปกครองได้ดูข้อมูลรายละเอียดของเเผนที่สร้างขึ้น ว่าเหมาะสมกับเด็กหรือไม่ และต้องให้ผู้ปกครองเซ็นรับทราบก่อนถึงจะใช้เเผนIEPนี้ได้
  2. การเขียนแผน IEP  เราจะต้องทราบข้อมูลเด็ก และพฤติกรรมต่างๆของเด็กก่อนที่จะเขียนแผน  
  3. สามารถนำวิธีการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลไปเขียนได้อย่างถูกต้อง
  4. ทราบเเนวทางการเขียนเเผน IEP  ทั้ง2 แบบ คือแบบระยะสั้นและระยะยาว

    
การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน และการเขียนแผน ก็เป็นแผนที่ง่าย เขียนก็ไม่ได้ซับซ้อนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึก เพื่อนๆ ตั้งใจ และให้ร่วมมือในการช่วยคิดกิจกรรมกลุ่มของแต่ละกลุ่ม 
ประเมินอาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบอาจารย์ชี้เเจงรายละเอียดการเรียนชดเชยได้อย่างชัดเจน  มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายในเนื้อหาวิชา 


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 7 เมษายน 2558


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 ทักษะพื้นฐานทางการเรียน  
เป็นการเรียนรู้ทักษะต่างๆ เช่น ทักษะทางสังคม  ทักษะภาษา  ทักษะการช่วยเหลือตนเอง และทักษะพื้นฐานทางการเรียน จะเป็นทักษะเตรียมความพร้อมในการเขียนเเผน IEP ให้กับเด็ก

    เป้าหมายในการส่งเสริมเด็ก
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า ตนเองทำได้
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นของเด็กให้มีมากขึ้น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง

     ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่น เหมือนกับการเตรียมความพร้อม
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
         - เด็กพิเศษจะมีช่วงความสนใจ 2-3 นาที -

     การเลียนเเบบของเด็ก
เด็กชอบเลียนเเบบจาก พี่ น้อง เพื่อน ครู

     การทำตามคำสั่ง คำเเนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ึครูพูดชัดหรือไม่

- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

     การรับรู้  การเคลื่อนไหว
การได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส   กลิ่น

     ความจำของเด็ก
- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- เเกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของหายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

      การวางเเผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็กในการเรียนรู้
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆเพื่อความสนใจของเด็ก
- ให้งานเด็กเเต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง หรืออาจจะติดเป็นสัญลักษณ์
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด และไม่ชอบอะไร
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงานให้กับเด็ก
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและเล่นได้นาน
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลี่อนไหวร่างกาย


ฝึกร้องเพลงเด็ก 5  เพลง




เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว

เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10

เพลง เเม่ไก่ออกไข่
เเม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง

เพลง ลูกเเมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา  เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
* หมาก็เห่า  บ็อก  บ็อก
เเมวก็ร้อง  เมี๊ยว  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา  วัวร้อง มอ  มอ
(ซ้ำ * )

                                                          
                                                                  การนำไปประยุกต์ใช้
  1. รู้ว่าต้องใช้เทคนิคว่าอะไรในการจัดกิจกรรมให้เด็ก
  2. ได้เรียนรู้ว่าควรเลือกวิธีไหนในการจัดกิจกรรมที่พัฒนาให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะอยากเรียนรู้
  3. จัดกิจกรรมที่เป็นทักษะทางวิชาการที่ทำให้เด็กเรียนเเล้ว เกิดความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้น
  4. เทคนิคการจัดหาเกมหรือกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมเด็ก
  5. ส่งเสริมการร้องเพลงให้ถูกต้อง
การประเมิน
ประเมินตนเอง :   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน  และฝึกร้องเพลง 5 เพลง เสียงการร้องยังไม่เพราะค่ะ                             แต่ก็พยายามฝึก
ประเมินเพื่อน :     เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน และตั้งใจร้องเพลงกันอย่างดี
ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์สอนเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย ร้องเพลงเพราะมากค่ะ

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 31 มีนาคม 2558



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  

อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันทำอุปกรณ์ที่ใช้ในวันกีฬาสี เพื่อใช้ทำกิจกรรมในวันกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์